การผลิต ของ ดิอะเมซิ่งเรซ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์อเมริกัน)

รูปแบบรายการในการผลิตต่อๆ มาไม่ต่างจากแบบแผนในฤดูกาลแรกมากนัก คือ ทีมสุดท้ายที่มาถึงจุดพักจะถูกคัดออกหรืออาจจะถูกคัดออก การแข่งขันจะเริ่มต้น ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทีมจะต้องอ่านคำใบแรกที่ให้ไว้และเดินทางตามคำสั่งที่มีทั้ง เครื่องบิน , รถเช่า , แท็กซี่ , เรือ , รถประจำทาง , รถไฟ ไปยังที่สถานที่ต่างๆ รอบโลกตามที่กำหนดไว้ให้เร็วที่สุด โดยปกติแล้วการแข่งขันจะวนกลับมาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย ซึ่งในการที่จะได้คำใบ้ต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางนั้นทีมจะต้องทำภารกิจต่างๆ ที่ให้ไว้ในโจทย์คำสั่ง (สามารถดูคำสั่งได้จากหัวข้อ คำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการแข่งขัน) ในแต่ละช่วงการแข่งขันทีมจะได้เงินสดส่วนมากมาในรูปของ ดอลล่าสหรัฐอเมริกา จำนวนหนึ่งซึ่งต้องใช้อย่างคุ้มค่าในการแข่งขัน โดยเงินจำนวนนั้นต้องนำมาจ่ายทุกอย่างที่ใช้สำหรับการแข่งขันยกเว้นค่าตั๋วเครื่องบินที่อนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตจ่ายแทนได้ การผลิตของ The Amazing Race เป็นการทำงานที่ยากมากงานหนึ่งและแตกต่างจากเรียลลิตี้เกมโชว์อื่นๆ อย่างสิ้นเชิงเพราะการทำงานจะต้องย้ายสถานที่ไปตามที่แข่งขันตลอดเวลา ทั้งๆ ที่รายการนี้ถ่ายทำได้ยากมากแต่ก็ยังได้เข้าชิงรางวัล Primetime Emmy Awards ในสาขาต่างๆ เป็นเรื่อยมาตั้งแต่รายการออกอากาศถึง 40 รางวัลและคว้ามาได้มากถึง 12 รางวัล

การถ่ายทำดิ อะเมซิ่ง เรซ ถือเป็นความท้าทางอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นรายการที่แข่งขันไปทั่วโลก ทำให้ก่อนการถ่ายทำนั้นทีมงานจะต้องวางแผนเรื่องสถานที่ ภารกิจระหว่างการแข่งขัน การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันและการส่งทีมงานเพิ่มเติมไปสนับสนุน ให้รอบคอบและสำเร็จไปได้ด้วยดี รวมทั้งการจ้างให้คนท้องถิ่นช่วยประสานงานเปรียบเสมือนผู้ช่วยทีมงานใน 1 ฤดูกาลทางผู้ผลิตกล่าวว่าจะต้องพบเจอกับผู้คนมากหน้าหลายตาจากต่างประเทศโดยรวมแล้วกว่า 2,000 คนและทีมงานอีกกว่าร้อยชีวิต ท่ามกลางหน้าที่อันยากลำบากที่ผู้ผลิตจะต้องเผชิญระหว่างการแข่งขัน รายการนี้ใน 1 ฤดูกาลจัดได้ว่า "ใช้งบประมาณมากที่สุดรายการหนึ่ง ทีมงานร่วมผลิตมากที่สุด การถ่ายทำยากลำบากมากที่สุด การวางแผนการทำงานมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด" ระหว่างการแข่งขันช่างกล้องกับช่างเสียง 2 คน จะต้องติดตามทีมผู้เข้าแข่งขันและพิธีกรตลอดเวลา ซึ่งหลังจากการถ่ายทำ ตัดต่อและได้ฟิล์มสุดท้ายที่จะนำไปออกอากาศแล้ว ทั้งทีมงานและสมาชิกในทีมจะต้องรับผิดชอบในการไม่เปิดเผยเนื้อความในรายการ (สปอยเลอร์) ที่จะทำให้มีผู้ทราบสถานที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือผลการแข่งขัน จนกว่าการแข่งขันจะออกอากาศจนจบ

หลังจากผ่านความพยายามมาอย่างหนัก ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับรางวัลหลายรางวัล รวมทั้งรางวัลเอ็มมีสำหรับรายการเรียลลิตี้โชว์ประเภทการแข่งขันยอดเยี่ยมและยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในรางวัลเอ็มมีในด้านเสียง การถ่ายทำวิดีโอ และการตัดต่อวิดีโออีกด้วย

ดิ อะเมซิ่ง เรซ มีความพยายามอย่างมากที่จะเปลี่ยนการถ่ายทำจากโทรทัศน์มาตรฐานเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงในช่วงก่อนปี ค.ศ.2010 โดยที่หลายๆ รายการได้ทำการเปลี่ยนการถ่ายทำเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ไม่ว่าจะเป็น Survivor , The Biggest Loser , American Idol , America's Got Talent ฯลฯ แต่เนื่องจากการถ่ายทำที่ยากลำบากที่ตากล้องจะต้องวิ่งตลอดเวลาทำให้ภาพจะออกมาไม่ดีนักรวมถึงต้องใช้ภาพจากแฟ้มภาพที่มีอยู่มาตัดต่อเข้าไปในรายการเพื่อความสมจริง ในท้ายที่สุดแล้วตั้งแต่ฤดูกาลที่ 18 (ต้นปี ค.ศ. 2011) ดิ อะเมซิ่ง เรซ จะทำการออกอากาศในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงบวกกับยังคงใช้ภาพจากแฟ้มภาพควบคู่กันไปซึ่งทางทีมงานได้กล่าวไว้ว่าจะต้องทำในลักษณะนี้ให้ได้อย่างสมดุลและเหมาะสมที่สุด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดิอะเมซิ่งเรซ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์อเมริกัน) http://www.cbs.com/primetime/amazing_race http://amazingracewiki.cbs.com/ http://www.tarflies.com/article.php?_f=detail&id=2... http://www.tashitagg.com/tar5/insider/girly.asp http://www.cbs.com/primetime/amazing_race5/extras/... http://www.tarflies.com/article.php?_f=detail&id=2... http://www.cbs.com/primetime/amazing_race3/show/ep... http://www.cbs.com/primetime/amazing_race7/show/ep... http://www.cbs.com/primetime/amazing_race8/show/ep... http://www.tarflies.com/article.php?_f=detail&id=2...